วาไรตี้
ประชาสัมพันธ์
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มหิดล แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มหิดล แสดงบทความทั้งหมด

ค่ายเตรียมความพร้อม โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD) ในสถาบันสมทบ ม.มหิดล

รับตรง โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ในสถาบันสมทบ ม.มหิดล ประจำปีการศึกษา 2560

รับตรง แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และทันตแพทยศาสตร์ (มหิดลเพื่อชาวชนบท) ม.มหิดล 60

รับตรงและทุน ICT หลักสูตรนานาชาติ ม.มหิดล ปีการศึกษา 2560



วิธีการสมัคร

 สมัครทาง Website : http://admission.ict.mahidol.ac.th/online/
 สมัครด้วยตนเอง ที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา หรือ ที่อาคารสำนักคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตพญาไท

คุณสมบัติผู้สมัครสอบ

คุณสมบัติผู้สมัครสอบ (รอบสอบตรง)1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่าจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ประจำปีการศึกษา 2559 ในโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50

คุณสมบัติของผู้สมัคร (รอบโควตาเรียนดี)
1. กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่โรงเรียนเสนอชื่อมา (พบอาจารย์แนะแนวที่โรงเรียน) โดยเสนอชื่อนักเรียนได้โรงเรียนละไม่เกิน 5 คน
3. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 3.50

รายชื่อโรงเรียนที่มีสิทธิ์สมัครรอบโควตาเรียนดี
คุณสมบัติของผู้สมัคร (รอบโควตาความสามารถพิเศษ Sci /Com)
1. กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคอมพิวเตอร์หรือมีความสามารถที่โดดเด่นด้านการศึกษา
3. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 3.00

หมายเหตุ – หากผู้สมัครรอบโควตาเรียนดีและรอบโควตาความสามารถพิเศษ Sci /Com ประสงค์จะได้รับทุนการศึกษา ขอให้ระบุในใบสมัครว่าต้องการสอบข้อเขียนและเข้าสอบในวันที่ 8 ตุลาคม 2559 โดยการพิจารณาทุนเรียนดีตลอดหลักสูตรนั้นจะพิจารณาจากคะแนนสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

เอกสารการสมัคร

เอกสารการสมัคร (รอบสอบตรง)
  1. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาใบรับรองการเป็นนักเรียน (ปพ.7)
  4. สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 4 ภาคการศึกษา (ม. 4 - ม. 6 ภาคการศึกษาต้น) ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50
  5. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
หมายเหตุ : ผู้สมัครต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง
เอกสารการสมัคร (รอบโควตาเรียนดี และรอบโควตาความสามารถพิเศษทาง Sci /Com)
  1. ใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 4 ภาคการศึกษา (ม. 4 - ม. 5 ภาคการศึกษาปลาย)
  2. สำเนาใบรับรองการเป็นนักเรียน (ปพ.7)
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
  5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
  6. สำเนาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ของผู้สมัคร (ถ้ามี)
หมายเหตุ : ผู้สมัครต้องลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง

การส่งหลักฐานการสมัคร

กรุณาส่งหลักฐานการสมัครภายในวันที่ 30 กันยายน 2559 ด้วยตนเองหรือส่งไปรษณีย์ มาที่
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

วงเล็บมุมซอง (เอกสารสมัครสอบคณะ ICT)
*** ผู้สมัครจะต้องส่งหลักฐานประกอบการรับสมัครและชำระค่าสมัคร ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559
หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2441-0909 ต่อ 111 ***

การชำระค่าสมัคร (สอบตรง - โควตา) : ค่าสมัครทุกประเภท 600 บาท

สำหรับช่องทางการชำระเงินมี 2 วิธีค่ะ
1. ชำระเงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา โดยพิมพ์แบบฟอร์มจากระบบสมัคร On-line
2. ชำระเงินสดด้วยตนเอง ที่คณะ ICT วิทยาเขตศาลายา หรือวิทยาเขตพญาไท
** ค่าสมัคร 600 บาท ทั้งนี้ คณะ ฯ จะไม่คืนค่าสมัครให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น **

สมัคร On-line ไดที่ : http://admission.ict.mahidol.ac.th/online/
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาใด ๆ กรุณาติดต่อได้ที่ ictadmission@mahidol.ac.th
Faculty of ICT on Facebook

กำหนดการรับสมัครนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2560 รอบรับตรง รอบ 1 และรอบโควตา

กิจกรรม
รอบ 1
(สอบตรง)
รอบ 1
(โควตาเรียนดี)
รอบ 1
(โควตา Sci/Com Skills)
รับสมัคร
18 ส.ค. -
30 ก.ย. 59
18 ส.ค. -
30 ก.ย. 59
18 ส.ค. -
30 ก.ย. 59
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบข้อเขียน
4 ต.ค. 59
-
-
สอบข้อเขียน
8 ต.ค. 59
-
-
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและสถานที่สอบสัมภาษณ์
4 พ.ย. 59
4 พ.ย. 59
4 พ.ย. 59
สอบสัมภาษณ์
12 พ.ย. 59
12 พ.ย. 59
12 พ.ย. 59
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
16 พ.ย. 59
16 พ.ย. 59
16 พ.ย. 59
ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่
28 พ.ย. 59
28 พ.ย. 59
28 พ.ย. 59
ICT Preparatory Program
เม.ย. - ก.ค. 60
เม.ย. - ก.ค. 59
เม.ย. - ก.ค. 59
เปิดภาคการศึกษา
ส.ค. 60
ส.ค. 60
ส.ค. 60

International Admissions

International applicants please download application form here
รายละเอียดเพิ่มเติมและที่มา : http://www.ict.mahidol.ac.th/thai/thaiadmission/index.html

รับตรง สาธารณสุข ฯลฯ ม.มหิดล อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2560





หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ (สาขาเกษตรศาสตร์) 


หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต


ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.am.mahidol.ac.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=415:New_Student_2560&catid=9&Itemid=103

กำหนดการรับสมัคร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 2560

กำหนดการรับสมัคร ประจำปีการศึกษา 2560

ครั้งที่ 1-4 เข้าศึกษาในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2560 ( 1/2560 : เปิดภาคการศึกษา มิถุนายน 2560)
กําหนดการครั้งที่ 1ครั้งที่ 2ครั้งที่ 3ครั้งที่ 4
1. จําหน่ายใบสมัครและเปิดรับสมัครเริ่มรับสมัครทั้ง 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป
2. ปิดรับสมัคร
– ทาง internet (17.00 น.)
– ส่งเอกสารถึงวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (17.00 น.)
พฤ. 11 ส.ค. 59อ. 18 ต.ค. 59ศ. 16 ธ.ค. 59พ. 15 ก.พ. 60
3. ประกาศรายชื่อ วัน เวลา และสถานที่สอบพ. 31 ส.ค. 59จ. 31 ต.ค. 59ศ. 30 ธ.ค. 59ส. 25 ก.พ. 60
4. กําหนดสอบอา. 4 ก.ย. 59อา. 6 พ.ย. 59อา. 8 ม.ค. 60ศ. 3 มี.ค. 60
5. ประกาศรายชื่อ ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ส. 24 ก.ย. 59ส. 26 พ.ย. 59พ. 25 ม.ค. 60ส. 18 มี.ค. 60
6. สอบสัมภาษณ์ส. 1 ต.ค. 59ส. 3 ธ.ค. 59ส. 28 ม.ค. 60พ. 22 มี.ค. 60
7. ประกาศผลสอบอ. 11 ต.ค. 59อ. 13 ธ.ค. 59อ. 7 ก.พ. 60พฤ. 30 มี.ค. 60
8. รายงานตัวและลงทะเบียน
– กรอกข้อมูลทาง internet
– จัดเตรียมและส่งเอกสารถึงวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
11-17 ต.ค.5913-19 ธ.ค. 597-13 ก.พ. 6030 มี.ค. -5 เม.ย. 60
หมายเหตุ : รับทุกระดับชั้น และผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาภายใน พฤษภาคม 2560


รับสมัครผ่านระบบออนไลน์ กรุณาศึกษาข้อมูลในคู่รับสมัครนักศึกษาใหม่ตามหลักสูตรที่ท่านสนใจก่อนเข้าระบบเพื่อสมัครสอบ
ขั้นตอนการสมัครสอบ
1. ขอรับรหัสสมัครสอบ นักศึกษากรอกข้อมูลและพิมพ์ใบ invoice ไปชําระเงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์
2. สมัครสอบ นักศึกษากรอกข้อมูลและพิมพ์ใบ invoice ไปชําระเงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์
3. จัดส่งเอกสารการสมัครที่สมบูรณ์ทั้งหมดมาที่
งานบริการการศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
25/25 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เพิ่มเติม: TIME Exams ผู้สมัครต้องสอบกับระบบศูนย์สอบเทียบดนตรีแห่งประเทศไทยตามข้อมูลที่แจ้งไว้ในระเบียบการรับสมัคร

ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.music.mahidol.ac.th/th/apply-online-overview/

เกณฑ์การรับสมัคร โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล 2560


โครงการโอลิมปิกวิชาการ จำนวน 21 คน
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
โครงการโอลิมปิกวิชาการ ให้ถือตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ ปีการศึกษา ๒๕๕๘



รายละเอียดเพิ่มเติมและที่มา : 

แนะนำ โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล



หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
Doctor of Medicine Program
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างบัณฑิตแพทย์และพลเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีความรู้ความสามารถและเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพแพทย์ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาแพทยศาสตร์ โดยเน้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์ศิริราช ดังต่อไปนี้
   (๑) Soul หมายถึง มีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ ประกอบด้วย คุณธรรมแห่งวิชาชีพ การคำนึงถึงผู้ป่วย ความรับผิดชอบต่อสังคม
   (๒) Knowledge หมายถึง มีความรู้ทางวิชาชีพ (professional knowledge) 
   (๓) Information หมายถึง ทักษะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อ เทคโนโลยี (information, media, technology skills) 
   (๔) Learning หมายถึง ทักษะการเรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (learning and innovation skills) 
   (๕) Leader หมายถึง ทักษะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้ชีวิต (leadership and life skills) 
   (๖) Skills หมายถึง มีทักษะทางวิชาชีพ (professional skills) 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๒๕๒ หน่วยกิต

โครงสร้างของหลักสูตร
(ก)หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ๑๖ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด ๑๔ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๘ หน่วยกิต
(ส่วนที่จัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป)
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๖ หน่วยกิต
(ข)หมวดวิชาเฉพาะ ๒๑๑ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๑๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับ ๑๘๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับเลือก ๑๕ หน่วยกิต
(ค)หมวดวิชาเลือกเสรี ๑๑ หน่วยกิต
การรับสมัคร

1. โครงการโอลิมปิกวิชาการ จำนวน 21 คน
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
2. ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
2.1 โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น 
 กีฬา จำนวน 1 คน
 ดนตรีแสดงเดี่ยว จำนวน 1 คน
2.2 โครงการวิทยาเขต 
 กลุ่มกาญจนบุรี จำนวน 4 คน ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม (ยกเว้น รร.มหิดลวิทยานุสรณ์) 
 กลุ่มนครสวรรค์ จำนวน 2 คน นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ 
 กลุ่มอำนาจเจริญ จำนวน 1 คน อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร และร้อยเอ็ด 
2.3 โครงการรับนักศึกษาชาวไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล) 
- นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 1 คน
- ไม่จำกัดศาสนา จำนวน 1 คน
ดูรายละเอียดได้ที่ www.mahidol.ac.th/directadmission
3. รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) จำนวน 260 คน

* สำหรับผู้สมัครที่ไม่สามารถเข้าสอบและนำผลคะแนน O-NET ปีการศึกษา 2558 มาแสดงได้ เช่น ผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คณะอนุกรรมการการสอบคัดเลือกฯ ระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันฯ สงวนสิทธิ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะนำผลการเรียนมาพิจารณา เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของผู้สมัครที่ผ่านการสอบ O-NET
ดูรายละเอียดได้ที่ www9.si.mahidol.ac.th
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(๑) โครงการโอลิมปิกวิชาการ ให้ถือตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตร
แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ 
ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๒) ระบบรับตรง (มหิดลเพื่อชาวชนบท) มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ถือตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับ 
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบรับตรง ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๓) รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้ถือตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง หลักเกณฑ์การสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ผ่านระบบรับตรง (Direct Admissions) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษา

ค่าเล่าเรียน
ชั้นปีที่ ๑ ๒๔,๑๕๐ บาท

ชั้นปีที่ ๒ ๓๙,๒๐๐ /๓๙,๖๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๓ ๓๘,๒๐๐ /๓๘,๖๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๔ ๓๙,๖๐๐ /๔๐,๐๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๕ ๔๐,๒๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๖ ๓๙,๔๐๐ บาท
*หมายเหตุ
   ๑. ปี ๒ –๖ ชำระค่าธรรมเนียมภาคเรียน ๒ พร้อมภาคเรียน ๑ 
   ๒. ค่าธรรมเนียมการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ทุนการศึกษา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีนโยบายที่จะจัดหาทุนอุดหนุนการศึกษามอบให้แก่นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและจัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษา 
คุณสมบัติของผู้รับทุน
   (๑) เป็นนักศึกษาในสังกัดคณะฯ
   (๒) เป็นผู้ขัดสนด้านทุนทรัพย์
   (๓) มีความตั้งใจเรียนและมีความประพฤติดี
เงื่อนไขการรับทุนการศึกษา
   (๑) นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมและช่วยเหลือในกิจกรรมซึ่งคณะฯ จัดขึ้น
   (๒) การจัดสรรทุนจะแบ่งให้รับทุนเป็นรายเดือน หรือแล้วแต่เจ้าของทุนกำหนด
   (๓) หากพบว่านักศึกษานำเงินทุนไปใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จะตัดสิทธิ์การรับทุน และอาจให้นำเงินทุนที่ได้รับไปแล้วทั้งหมดคืน

คำถามพบบ่อย

คำถามที่ ๑ เรียนแพทย์ที่ศิริราชเรียนหนักหรือไม่ มีกิจกรรมเยอะหรือไม่ มีเวลาพักผ่อนหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหาวิชาและองค์ความรู้มาก ต้องเรียนหนักกว่าหลักสูตรอื่น แต่ถ้าอยากเก่งก็ต้องฝึกหนักกว่าคนอื่น ถ้าจะเป็นแพทย์ที่เก่งได้ย่อมต้องใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนมากกว่าผู้ที่เรียนหลักสูตรอื่นที่เนื้อหาน้อยกว่า ถึงแม้จะเรียนหนักแต่สามารถอยู่ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้ารู้จักบริหารเวลา รวมทั้งมีอาจารย์ที่คอยดูแลความเป็นอยู่ของนักศึกษา สำหรับกิจกรรมต่างๆ คณะฯ มีกิจกรรมนอกหลักสูตรให้เลือกมากมาย เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาตนเอง สำหรับเวลาในการพักผ่อน ถ้านักศึกษารู้จักการบริหารเวลาที่ดี นักศึกษาจะสามารถบริหารเวลาได้ มีเวลาพักผ่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องเรียนในระดับคลินิกมีการดูแลคนไข้ ต้องยอมรับว่าบางครั้งแพทย์จำเป็นที่จะต้องอยู่เวร เพราะฉะนั้นจะมีวันที่ไม่ได้นอนแต่นั่นเป็นธรรมชาติของวิชาชีพ

คำถามที่ ๒ อยากทราบเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกเรียนที่ศิริราช อะไรเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของศิริราช
มีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศมากมายที่สามารถผลิตแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมของแพทยสภา แต่อย่างไรก็ตามศิริราชก็มีจุดเด่นที่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์อื่นๆ ดังนี้
(๑) ศิริราชเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีอาจารย์ผู้มีความรู้ความชำนาญมากเกือบครบถ้วนทุกสาขาวิชา เนื่องจากการเรียนแพทย์ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่มีในตำราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นศิลปะในการรักษาซึ่งอาจารย์ผู้มีประสบการณ์มีความชำนาญจะมีศิลปะในการรักษาที่ดี
(๒) ศิริราชมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ และมีการตรวจสอบหลักสูตร โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ
(๓) ศิริราชมีอุปกรณ์และทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ค่อนข้างพร้อม มีการลงทุนกับสื่อการศึกษา การพัฒนาหุ่นจำลองทางการแพทย์ การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) ศิริราชมีห้องสมุดทางการแพทย์ที่มีหนังสือและวารสารทางการแพทย์มากที่สุดในประเทศ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลทางการแพทย์ได้มากกว่าทุกๆ โรงเรียนแพทย์ในประเทศ และมีฐานข้อมูลที่มากที่สุดในประเทศ
(๕) ศิริราชมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดในประเทศ และเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งการเรียนรู้จากผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนที่ศิริราชจะได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย 

คำถามที่ ๓ อยากเป็นแพทย์เพราะชอบ แต่ท่องจำไม่เก่ง ความจำไม่ดี จะเรียนไหวหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหามาก และการตัดสินใจเพื่อรักษาผู้ป่วยในหลายๆ กรณีมักไม่มีเวลาเปิดหนังสือหรือตำรา จึงจำเป็นต้องมีความรู้อยู่ในหัวที่พร้อมจะรักษาผู้ป่วยในเวลาเสี้ยววินาทีได้ เพราะฉะนั้น การท่องจำเนื้อหาจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นทักษะที่จำเป็นในการเรียน แต่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ 

คำถามที่ ๔ หากไม่ชอบเรียนวิชาชีววิทยา แต่รักความเป็นแพทย์จะเรียนได้หรือไม่
ต้องถามว่า รักความเป็นแพทย์คืออะไร ถ้ารักความเป็นแพทย์เพราะว่ารักที่จะได้เงินเดือนสูงๆ เราไม่เรียกว่ารักความเป็นแพทย์ แต่ถ้ารักความเป็นแพทย์ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว มีความเสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยสามัญสำนึกของตนเอง สิ่งนี้ถือว่ารักความเป็นแพทย์ ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถเรียนได้แน่นอน ต่อให้ไม่เก่งวิชาชีววิทยาแต่มีคุณสมบัติพื้นฐานก็สามารถเรียนแพทย์ได้

คำถามที่ ๕ อยากเรียนแพทย์แต่ไม่เก่งภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร จะเรียนได้หรือไม่
วิชาการทางการแพทย์เป็นวิชาการที่มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา และในปัจจุบันความรู้ใหม่ๆ ถูกพัฒนาในต่างประเทศ และเผยแพร่ในวารสารหรือตำราที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนมาก ดังนั้น ทักษะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียน ถ้าจะเรียนให้จบหลักสูตร โดยที่ไม่อ่านตำราหรือวารสารวิชาการภาษาอังกฤษเลยคงเป็นไปได้ยากมาก แต่ทั้งนี้ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่ฝึกฝนเรียนรู้ได้ โดยคณะฯ มีทรัพยากรเกื้อหนุนให้นักศึกษาได้ฝึกตนเองและพัฒนาตนเองให้เก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นได้
คำถามที่ ๖ ทราบได้อย่างไรว่าตัวเองอยากเป็นแพทย์ และเมื่อทราบแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไร
ถ้ามีคุณสมบัติที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์มาก่อนประโยชน์ส่วนตัวเสมอ มีความเสียสละ ถือว่ารักความเป็นแพทย์ มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่งที่จัดงาน Open house แนะแนวการศึกษาแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และครูแนะแนว เพื่อให้สำรวจตัวเองว่าอยากเป็นแพทย์จริงหรือไม่ ซึ่งจะได้เห็นวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ ทำให้เข้าใจรูปแบบการเรียนมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีโอกาสเข้าร่วม ควรจะสำรวจตัวเองให้มั่นใจว่าเป็นคนรักงานบริการ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และทุ่มเทเสียสละ

คำถามที่ ๗ เรียนแพทย์ต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมากหรือไม่ ฐานะไม่ดีจะเรียนได้หรือไม่ มีทุนการศึกษาหรือไม่
หากเป็นโรงเรียนแพทย์ของรัฐ รัฐบาลมีงบสนับสนุนให้ เพราะฉะนั้นนักศึกษาจะไม่ได้จ่ายค่าเล่าเรียนตามจำนวนที่ต้องใช้จริงตามต้นทุน หากนักศึกษาไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยังสามารถเรียนได้ เพราะคณะฯ มีทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งมีทุนหลากหลายประเภทด้วยกัน โดยนโยบายของคณะฯ จะไม่ยอมให้นักศึกษาแม้แต่คนเดียวไม่สำเร็จการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ 

คำถามที่ ๘ อยากเรียนแพทย์ต้องเก่งอะไรบ้าง เรียนแพทย์ยากไหม
เรียนแพทย์ยาก แต่ถ้ามีความตั้งใจก็สามารถเรียนได้ จริงๆแล้วต้องเก่งหลายอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องเก่งมาตั้งแต่ต้นทาง สามารถมาพัฒนาในโรงเรียนแพทย์ได้ เช่น ต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีทักษะในการทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ดี มีทักษะในการทำหัตการ ทำการผ่าตัด หรือว่าใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้ มีความจำที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครมีทักษะทุกอย่างครบถ้วน แต่ถ้าจะต้องเก่งอะไรในระดับมัธยมภาษาอังกฤษน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความรู้ในตำราวารสารวิชาการส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

คำถามที่ ๙ ผู้ที่เหมาะสมที่จะเรียนแพทย์ควรมีบุคลิกอย่างไร
ต้องเป็นคนจิตใจดี ชอบให้บริการผู้อื่น มีความเสียสละ ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว มีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเริ่มงานหรือเลิกงานเวลาเดิมในทุกวัน อาจมีบางวันที่ต้องทำอะไรที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าได้

คำถามที่ ๑๐ เรียนแพทย์ดีอย่างไร
ถ้ามองในเชิงจิตใจนั้น การเรียนแพทย์เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นแพทย์ที่ดีจริงๆ จะสามารถเปลี่ยนให้คนที่จะเสียชีวิตให้เดินกลับบ้านได้ สามารถเปลี่ยนให้คนที่กำลังจะพิการให้กลับไปทำงานได้ เราสามารถทำให้คนที่มีอาการเจ็บป่วย หรือเจ็บปวดทรมานพ้นจากความทุกข์ทรมานได้ เราสามารถทำประโยชน์ให้คนหมู่มาก ดังนั้น เราได้ผลตอบแทนทางใจเยอะมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยและความลำบากกาย
ติดต่อสอบถาม

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
ที่อยู่ : ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น ๖ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เลขที่ ๒ ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๔๑๙-๖๔๑๐-๑ , ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๒
โทรสาร : ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๓
email : sieducation@mahidol.ac.th

วิดีโอแนะนำคณะฯ





รายละเอียดเพิ่มเติมและที่มา : 

แก้ไขใหม่!! การรับนักศึกษาแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ม.มหิดล 2560


การรับนักศึกษาแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2560
 
(Update 13/07/59)
          เพื่อให้บุคคลผู้มีความสนใจสมัครเข้าศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ระบบรับตรงโดยคณะฯ ปีการศึกษา 2560 ได้รับประโยชน์สูงสุดจากผลการเรียนของตนเอง   คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงขอแก้ไขคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย เกี่ยวกับคะแนนรายวิชา (ก) เคมี (ข) ชีววิทยา (ค) คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์  ดังนี้ 
ข้อความเดิมแก้ไขเป็น
1.1 คุณสมบัติทั่วไป
       1.1.1 ระบบโรงเรียนปกติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2559 และมีผลการศึกษาที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงวันที่สมัคร >3.50 และมีคะแนนรายวิชาของชั้นปีท้ายสุด เท่ากับ 4.0 ใน 3 รายวิชา ได้แก่
(ก) เคมี  (ข) ชีววิทยา และ (ค) คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ 
1.1 คุณสมบัติทั่วไป
       1.1.1 ระบบโรงเรียนปกติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2559 และมีผลการศึกษาที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงวันที่สมัคร > 3.50  และมีคะแนนรายวิชาของภาคเรียนล่าสุด มากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) เคมี  (ข) ชีววิทยา และ (ค) คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ 

          ทั้งนี้ รายละเอียด อื่นๆ ถือตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง  หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์        โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบบรับตรงโดยคณะฯปีการศึกษา 2560  ฉบับที่ 1
ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2559

การรับนักศึกษาแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล-วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ปีการศึกษา 2560
***************************************************
               คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีระบบการรับนักศึกษาแพทย์ จำนวน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบรับตรง กสพท. ระบบมหิดลรับตรง และระบบรับตรงโดยคณะฯ ปีการศึกษา2560 เป็นปีมหามงคลที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจะดำเนินการรับนักศึกษาแพทย์ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  รุ่นแรกมาเรียนร่วมกับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดี ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน  แหล่งฝึกปฏิบัติงานหลักตลอดหลักสูตร  นักศึกษาแพทย์ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์  ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  จะรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล มีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญา เท่ากันทุกประการ
รายละเอียดการดำเนินการรับนักศึกษาแพทย์
1.ระบบรับตรง  กสพท.
รหัส 06จำนวนแผนการรับรหัส 07จำนวนแผนการรับ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี148
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  
มหาวิทยาลัยมหิดล-วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์  ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
20
หมายเหตุ     สมัครระบบ Online Website กสพท. www9.si.mahidol.ac.th รับสมัคร วันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2559 ดำเนินการตามประกาศ กสพท. ฉบับที่ 1 
เรื่อง หลักเกณฑ์การสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา  หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต  ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต  และ เภสัชศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2560 ผ่านระบบรับตรง (Direct Admission) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

2.ระบบมหิดลรับตรง ดำเนินการในระบบมหิดลเพื่อชาวชนบท 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวนแผนการรับหมายเหตุ
1.โควตาวิทยาเขต
สมัครระบบ online  ของมหาวิทยาลัยมหิดล  ในระบบรับตรง
(มหิดลเพื่อชาวชนบท ) Website :
http://www.mahidol.ac.th/directadmission/ 
เข้า เมนูสมัครออนไลน์ เลือก มหิดลเพื่อชาวชนบทรับสมัคร
วันที่ 1 – 30 กันยายน 2559
     -ประกาศรายชื่อผู้ผ่านข้อเขียนและมีสิทธิ์เข้ากระบวนการสอบสัมภาษณ์ /
ตรวจร่างกายจำนวนไม่เกิน 2 เท่า ของจำนวนที่จะรับสำหรับโควตา
แต่ละประเภท  
     -จำนวนการรับในแต่ละโควตา หากนักเรียนมีคุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์
ที่กำหนด คณะฯ ไม่พิจารณาเพิ่ม /โยก จำนวนการรับ ในโควตาอื่นแทน   
1.1กลุ่มกาญจนบุรี3
1.2กลุ่มนครสวรรค์3
1.3กลุ่มอำนาจเจริญ1
2.โควตาพื้นที่
2.1โรงเรียนในพื้นที่  จังหวัดสมุทรปราการ2
3.โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น
3.1ด้านกีฬา1
3.2ด้านศิลป1
4.โครงการพิเศษ
4.1โครงการรับนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม  จังหวัดชายแดนภาคใต้1
รวม12

3. ระบบรับตรงโดยคณะฯ
จำนวนแผนการรับหมายเหตุ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี20
สมัครระบบ online  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Website :
http://www3.ra.mahidol.ac.th/education/
รับสมัคร วันที่ 1 – 30 กันยายน 2559




ข้อมูลการรับนักศึกษาแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีการศึกษา 2560
ประเภท /
ระบบการรับ / กิจกรรม
ระบบมหิดลรับตรงระบบรับตรงโดยคณะฯระบบรับตรง กสพท.
คุณสมบัติทั่วไป
เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษา
ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในปีการศึกษา 2559 
โควตาวิทยาเขต , พื้นที่
และโครงการพิเศษ
ตามที่คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี /
มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
1.ระบบโรงเรียนปกติ
    เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2559 และมีผลการศึกษาที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงวันที่สมัคร>3.50 และมีคะแนนรายวิชาของภาคเรียนล่าสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) เคมี  (ข) ชีววิทยา และ (ค) คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ หรือ
2.ระบบโรงเรียนนานาชาติ 
   เป็นผู้สำเร็จการศึกษา โดยมีผลการศึกษาที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ > 3.50 หรือเทียบเท่า และมีเกรด       ในวิชา Biology, Chemistry และ Physics หรือ Mathematics ไม่ต่ำกว่า A 
เป็นผู้สำเร็จการศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ หลักสูตรอื่นเทียบเท่า  
ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือ กำลังศึกษา
ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา2559 และ
คาดว่าจะจบการศึกษาก่อนเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560
และที่กำหนด ตามประกาศ กสพท. ฉบับที่ 1 
ลงวันที่ 12 กรกฏาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การ
สมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรแพทย
ศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และ เภสัชศาสตรบัณฑิต
ปีการศึกษา 2560 ผ่านระบบรับตรง
(Direct Admission) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์
แห่งประเทศไทย
มีผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร ชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ≥ 3.00
หรือ กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการเทียบความรู้จากกลุ่มทะเบียนและสารสนเทศทางการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ซึ่งคาดว่าจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2559 และมีผลการสอบวุฒิที่เทียบความรู้เท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ใน 3 รายวิชา ได้แก่ (ก) Biology (ข) Chemistry และ (ค) Mathematics หรือ Physics ตามเกณฑ์
ต่อไปนี้
• International General Certificate of
  Secondary Education (IGCSE) 
  ทั้ง 3 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า A 
  หรือ 
• ผลการสอบ SAT II ทั้ง 3 รายวิชา 
  ไม่ต่ำกว่า 650 คะแนน 
  หรือ 
• ผลการสอบ International      
  Baccalaureate (IB) Standard Level
  ทั้ง 3 รายวิชาไม่ต่ำกว่า 6 
คุณสมบัติเฉพาะตามระเบียบการสอบคัดเลือก
บุคคลเข้าศึกษาใน
มหาวิทยาลัยมหิดล
ระบบมหิดลรับตรง
ปีการศึกษา 2560
(มหิดลเพื่อชาวชนบท /โควตาวิทยาเขต พื้นที่ และโครงการพิเศษคณะแพทยศาสตร์        โรงพยาบาลรามาธิบดี)
1.จะต้องมีผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษ
TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80  คะแนน  หรือ ผลสอบภาษาอังกฤษ  IELTS  (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2  ปี นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 โดยยื่นผลสอบภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2559
2. จะต้องมีผลการสอบ Biomedical Admission Test (BMAT) ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 โดยยื่นผลสอบภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2559 
จำนวนรับ12 คน20 คน148 คน
การรับสมัคร Online
Website มหาวิทยาลัยมหิดล  http://www.mahidol.ac.th/
directadmission/
 เข้าเมนูสมัครออนไลน์
เลือก มหิดลเพื่อชาวชนบท
Website  คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
http://www3.ra.mahidol.ac.th
/education/
Website กสพท.
www9.si.mahidol.ac.th
1 - 30 กันยายน 25591 - 30 กันยายน 25591 – 31 สิงหาคม 2559
ค่าธรรมเนียม
การสมัครสอบ
700.00 บาท2,000.00 บาท800.00 บาท
วันที่สอบวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559 
ไม่มีการสอบข้อเขียน 
แต่ผู้สมัคร ต้องมีผลสอบ BMAT 
ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี 
นับถึงวันที่ 30 กันยายน 2559
วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2559 
(วิชาเฉพาะ)
และสอบวิชาสามัญ ของ สทศ.
ตามเวลาที่ สทศ.กำหนด
วิชาที่สอบ
สอบวิชาสามัญ ของมหาวิทยาลัยมหิดล 
( เคมี ฟิสิกส์  คณิตศาสตร์  ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทยและสังคมศึกษากับความรู้ทั่วไป ) 
BMAT 2016 
การสมัคร วันที่ 1-28 กันยายน2559 
สอบวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559
ประกาศผล 25 พฤศจิกายน 2559
สมัครด้วยตนเองได้ที่
สามารถใช้ผลสอบย้อนหลัง 2 ปี
(ปีพ.ศ.2557ป็นต้นไป)
สอบวิชาเฉพาะ กสพท. 
ทดสอบศักยภาพการเรียนรู้ความสามารถ
ในการจับใจความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการประเมิน
แนวคิดทางจริยธรรม
แต่ละวิชาต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30
ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษ ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40และคะแนนรวมทุกวิชา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60ตามลำดับคะแนนรวม
และ สอบวิชาสามัญ 7 วิชาของ สทศ.
ตามวันที่ สทศ. กำหนด 

( วิชาสอบตามที่ กสพท.ประกาศ )
สัดส่วน/น้ำหนักคะแนนตามที่ กสพท.ประกาศ
ประกาศรายชื่อ
ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ /
ตรวจร่างกาย 
8 ธันวาคม 2559 15 ธันวาคม 2559
รอบที่ 1 :14 มีนาคม 2560
รอบที่ 2 : 31 มีนาคม 2560 (ถ้ามี) 
ส่งแบบตอบรับ
การสอบสัมภาษณ์ และหลักฐาน
การสมัครสอบ
8 - 13 ธันวาคม 255915 – 19 ธันวาคม 2559-
ทำแบบทดสอบประกอบการสัมภาษณ์16 ธันวาคม 255920 - 23 ธันวาคม 2559
รอบที่ 1 :18 มีนาคม 2560 
รอบที่ 2 : 6 เมษายน 2560   (ถ้ามี)
ตรวจร่างกาย
รอบที่ 1 :19 มีนาคม 2560
รอบที่ 2 : 6 เมษายน 2560   (ถ้ามี)
สอบสัมภาษณ์23 ธันวาคม 2559
รอบที่ 1 :21-22  มีนาคม2560
รอบที่ 2 :7 เมษายน 2560   (ถ้ามี)
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาทาง website
13 มกราคม 2560
30 ธันวาคม  2559
รอบที่ 1 :29 มีนาคม 2560
รอบที่ 2 :12 เมษายน2560   (ถ้ามี)
       และhttp://med.mahidol.ac.th
กรอกระเบียนประวัตินักศึกษาใหม่ออนไลน์13 – 16  มกราคม  2560 ที่ http://www.student.mahidol.ac.th/newstudent/แจ้งอีกครั้ง
ชำระเงินค่าธรรมเนียม
การศึกษา
17 – 19  มกราคม  2560
Download ใบรับรองชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา ที่ 
ชำระเงินตามจำนวนในใบ invoice ที่ ธนาคารกรุงเทพ/ทหารไทย/ไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ
** หากไม่ดำเนินการขั้นตอนนี้ ถือว่าสละสิทธิ์การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล
แจ้งอีกครั้ง
ส่งรายชื่อเพื่อตัดสิทธิ์ระบบ รับตรง กสพท.3 มีนาคม 2560-
กระบวนการ Clearing house 
ของ สอท.
--25 - 28 เมษายน 2560
ส่งผลการศึกษา ตามเกณฑ์
ที่กำหนด
ภายใน 19 เมษายน 2560ภายในเดือนกรกฎาคม 2560ภายในเดือนพฤษภาคม 2560
ประกาศรายชื่อ
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษารวมทุกระบบ
9 พฤษภาคม 2560
ปฐมนิเทศ
นักศึกษาใหม่ 
มหาวิทยาลัยมหิดล
ประมาณวันที่ 14 สิงหาคม  2560
ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
ของ คณะฯ
ประมาณวันที่ 16 สิงหาคม  2560
เปิดภาคการศึกษาที่ 1/2560
มหาวิทยาลัยมหิดล
21 สิงหาคม  2560

หมายเหตุ     
           1. กำหนดการดำเนินงานต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม  กรุณาติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างเคร่งครัดด้วย     
 2. ผู้ที่คณะฯ ประกาศรายชื่อมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย  ต้องเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ที่คณะฯ กำหนดอย่างครบถ้วน จึงจะมีสิทธิ์รับการพิจารณา
              เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษา
                    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่     หน่วยบริการการศึกษา  งานแพทยศาสตรศึกษา  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้น 3 อาคารเรียนรวม 
                                                                    โทรศัพท์ 02-2011289 ,  02-2012268 , 02-2011053  หรือ
                                                                     E-mail : orapan.cha@mahidol.ac.th
เอกสารแนบ
loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...