ประชาสัมพันธ์

วิจัยสารให้ความขาวแก่ผิวสำเร็จ

สาวนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สุดเจ๋ง พบสารให้ความขาวแก่ผิวได้สำเร็จด้วยวัสดุเหลือใช้จากเปลือกกุ้ง-ปู และแกนปลาหมึก นำไปผสมกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วมีความปลอดภัย ไม่เกิดอาการระคายเคือง เล็งพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาดเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค
   
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ มีการวิจัยและค้นพบสารให้ความขาว สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ แล้วยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ด้วย จึงรีบไปสอบถามข้อเท็จจริงจากน.ส.พอใจ รัตนปนัดดา เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์
   
น.ส.พอใจเปิดเผยว่า คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้หญิงอยากให้ผิวขาวกันทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายออกมาแข่งขันกันในตลาด แม้จะมีกฎหมายกำกับดูแลการผสมสารให้ความขาว แต่ยังมีการฝ่าฝืนอยู่มาก โดยในอดีตมีสารที่ช่วยให้ผิวขาวมากมาย เช่น สารปรอท และไฮโดรควิโนน แต่ปัจจุบันเป็นสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เนื่องจากมีผลข้างเคียงและมีข้อเสียมากมาย
   
ดังนั้นทีมวิจัยจึงได้ทำการวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้ไคโตซานในการเตรียม อาร์บูตินไมโครพาร์ติเคิลเพื่อทำให้ผิวขาว” เพื่อพัฒนาสารเพื่อผิวขาว โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมีรศ.พิมพร ลีลาพรพิสิฐ รศ.ดร.ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ รศ.ดร.สุรพล นธการกิจกุล จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะกรรมการที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งผลงานวิจัยชิ้นนี้   ยังได้รับรางวัลจากการประชุมวิชาการทาง  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 26-27 ส.ค. 53 ที่กรุงเทพฯ
   
น.ส.พอใจกล่าวอีกว่า สำหรับการค้นหาวัตถุดิบเพื่อมาสกัดเอาสารต่าง ๆ ออกมา ให้ได้พอลิเมอร์ที่จะนำมาใช้ ในการสกัดให้ได้ไคโตซาน เนื่องจากไคโตซานมีข้อดีหลายด้าน เช่น มีความเป็นพิษต่ำ สามารถผสมได้ทางชีวภาพ มีการสลายตัวได้ทางชีวภาพ มีความยึดติดทางชีวภาพ และมีคุณสมบัติเพิ่มการแทรกผ่าน เพื่อใช้เป็นระบบนำส่งเข้าสู่ผิวหนัง ซึ่งการสกัดเอาไคโตซานออกมาสามารถนำมาได้จากหลายแหล่ง แต่เนื่องจากการวิจัยต้องการค้นหาสิ่งดีที่สุด เป็น ประโยชน์ที่สุด จึงมีการทดลองมาหลายอย่าง จนสุดท้ายค้นพบว่าเปลือกกุ้ง เปลือกปู และแกนปลาหมึก สามารถนำมาสกัดเอาสารไคโตซานออกมาได้ อีกทั้งยังเป็นวัสดุเหลือใช้จำนวนมากในประเทศไทย
   
ดังนั้นเพื่อความกระจ่างจึงได้มีการทดลอง โดยใช้วิธีไอออนิกเจเลชั่น ที่มีไคโตซานและไตรพอลีฟอสเฟตเป็นตัวก่อ อนุภาคในการกักเก็บอาร์บูตินไว้ เมื่อนำอาร์บูตินที่ได้มาจากไคโตซานไมโครพาร์ติเคิล ด้วยการสกัดทางวิทยาศาสตร์ ก็นำสารดังกล่าวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมเพื่อทำให้ผิวขาวและทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัคร 20 คน หลังการทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าสารอาร์บูตินมีความเข้ากันได้ดีกับไคโตซาน โดยบีต้าอาร์บูตินแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มีค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 5.5
   
ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการใช้อาร์บูตินครีม และครีมที่มีอาร์บูตินไมโครพาร์ติเคิลในอาสาสมัคร พบว่าสามารถลดปริมาณเม็ดสีเมลานินได้สำเร็จ และมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง จากการวิจัยที่เตรียมอาร์บูตินไมโครพาร์ติ  เคิลโดยวิธีไอออนิกเจเลชั่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาฝ้าและการทำให้ผิวขาวได้ดีขึ้นและนานขึ้น ที่สำคัญคือเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาตำรับครีมให้ความขาวที่มาจากธรรมชาติ นับเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้ความขาวที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยผู้วิจัยอยู่ในช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาดเพื่อสร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคต่อไป
ที่มา  เดลินิวส์

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...