ประชาสัมพันธ์

ประธาน กกอ.ชี้บทบาท ม.ยุคใหม่

 
ร่วมฉลอง 70 ปี สถาปนาจันทรเกษม
 ดร.สัน ทนา วิจิตรเนาวรัตน์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและแผนงาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เผยว่า กิจกรรมการบรรยายวิชาการเรื่อง “อุดมศึกษายุคใหม่ที่ท้าทาย” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่ทางคณะศึกษาศาสตร์จัดขึ้น เพื่อร่วมฉลอง 70 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พาณิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เป็นวิทยากรให้ความรู้ และแนวทางในการจัดการศึกษา
เพื่อรองรับสภาพสังคมในปัจจุบัน
                  “มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตรับใช้สังคม การจัดการเรียนการสอนแบบเดิมนั้น อาจจะไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการจัดการศึกษาในปัจจุบันต้องมีความท้าทายความรู้ ความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากตัวผู้เรียน เป็นความท้าทายของคณาจารย์ มหาวิทยาลัย ที่จะต้องมีการปรับตัว รู้เท่าทันต่อความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการฉลอง 70 ปี มหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นการช่วยเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง คือ การผลิตตามความต้องการของสังคม มีความสามารถทัดเทียมกับนานาชาติ พร้อมใช้ความรู้ความสามารถนั้น พัฒนาสังคม ชุมชนของตน” ดร.สันทนา กล่าว

ดร.สันทนา กล่าวต่อว่า กิจกรรมในครั้งนี้ คณาจารย์ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ และผู้เข้าร่วมฟังบรรยายจะได้รับมุมมองในการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนอง ความต้องการของเด็กในยุคปัจจุบัน แนวคิดในการจัดแผนการสอนที่ทำควบคู่ไปกับสภาพชีวิตจริง เชื่อมโยงมาตรฐานสากลกับวิชาการ เพื่อรับใช้สังคมไทย สร้างจิตสำนึกใหม่ทางการศึกษา

“70 ปีที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตครูคุณภาพออกรับใช้สังคมจำนวนมาก ก้าวต่อไปหลังจากนี้ ก็จะมุ่งเน้นผลิตครูพันธุ์ใหม่ ผู้ที่สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีการนำข้อมูลมาใช้ประกอบการคิด การตัดสินใจ ทำวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เข้าใจธรรมชาติของเด็กยุคไอที สามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้จัดการสอน รวมทั้งเน้นพัฒนาครูที่เป็นคน เพราะเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของชาติ” ดร.สันทนา กล่าว

ด้าน ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พาณิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เผยว่า ความท้าทายของอุดมศึกษามาจากโลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน วิชาความรู้ ความต้องการของนักศึกษาเปลี่ยน ตลาดความต้องการบัณฑิตก็เปลี่ยนไปเช่นกัน อุดมศึกษาไม่ใช่ผู้ที่รู้ดีกว่าคนอื่นแล้ว มหาวิทยาลัยทำอย่างไรถึงจะรับความท้าทายตรงนี้ได้

“ตั้งแต่ปี 2519 สถาบันอุดมศึกษาเหินห่างกับสังคมไทย มุ่งเน้นจะพัฒนาก้าวตามโลกให้ทัน โดยลืมรากฐานของความเป็นไทย วิชาการแยกตัวจากชีวิตจริง แก้ไขปัญหาสังคมได้น้อย ไม่เน้นสร้างสรรค์วิชาการจากการทำงานในสภาพจริง ขาดวิชาการสายรับใช้สังคมไทย มหาวิทยาลัยในปัจจุบันต้องเข้าไปมีบทบาทรับผิดชอบชุมชนในท้องถิ่นของตน ต้องมีการดำเนินงานเป็นระบบ มีแผนรองรับระยะยาว ต้องทำงานใกล้ชิดสังคม ไม่ใช่แค่นำความรู้ไปถ่ายทอดเท่านั้น ต้องนำเอาความรู้จากสังคม ชุมชน กลับมาบูรณาการในการเรียนการสอนนักศึกษาอีกด้วย” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว.

ข่าว  เดลินิวส์
ภาพ  rd1677.com

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...